วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

งานครั้งที่ 5 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ ใช้ระบบควบคุณภาพอย่างไร

มาตรฐาน ISO 9001


ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร
ISO 9001 จึงเป็นระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล แนวคิดสำคัญของ ISO 9001 คือการจัดวางระบบบริหารงานเพื่อการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆ ได้รับการควบคุมและสามารถตรวจสอบได้ โดยผ่านระบบที่ระบุขั้นตอนและวิธีการทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรในองค์กรรู้หน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติงาน โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน มีการจดบันทึกข้อมูล รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระบบหรือไม่ และมีการแก้ไขข้อผิดพลาดรวมทั้งมีแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดเดิม
ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO 9001:2015 มีการเพิ่มข้อกำหนดในเรื่องการทำความเข้าใจกับองค์กรและบริบทองค์กร การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
มาตรฐานที่ใช้ได้กับทุกองค์กรและมาตรฐาน ISO อื่น
ISO 9001 เน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่จะต้องให้ความสำคัญกับความต้องการ ความคาดหวังของลูกค้า และผู้ที่เกี่ยวข้อง องค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตหรือภาคบริการทั้งรัฐและเอกชน สามารถนำระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ไปใช้ได้ และไม่มีขีดจำกัดว่าต้องใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนสูงและบุคลากร จำนวนมากเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการให้เทียบเคียงกับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงได้ ยิ่งกว่านี้ ISO 9001:2015 ใช้โครงสร้างของข้อกำหนดตาม Annex SL ในปัจจุบันมีมาตรฐานที่มีโครงสร้างนี้เช่น ISO 14001:2015, ISO 22301:2012 และ ISO 27001:2013 เป็นต้น ซึ่งในอนาคต มาตรฐาน ISO ทุกฉบับก็จะถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบ Annex SL เหมือนกันทำให้การดำเนินการบูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร
  • มีการบริหารเชิงกลยุทธและการบริหารความเสี่ยงจากบริบทและความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
  • มีการจัดการกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มีคุณภาพสินค้าที่ดีสม่ำเสมอและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น
  • มีการจัดการความรู้ขององค์กร
  • เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานดีขึ้น
  • เป็นส่วนหนึ่งของการมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • มีโครงสร้างมาตรฐานที่บูรณาการ (Integrate) มาตรฐานต่างๆได้ง่ายมากขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับภายนอกองค์กร
  • ลูกค้าเกิดความมั่นใจในสินค้าและบริการ
  • การจัดการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • บรรลุความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
The Principles of Quality Management
QMP 1  : การให้ความสำคัญกับลูกค้า Customer Focus
QMP 2  : ความเป็นผู้นำ Leadership
QMP 3  : การมีส่วนร่วมของบุคลากร Engagement of People
QMP 4  : การบริหารเชิงกระบวนการ Process Approach
QMP 5  : การปรับปรุง Improvement
QMP 6  : การตัดสินใจบนพื้นฐานของหลักฐาน Evidence-base Decision Making
QMP 7  : การบริหารความสัมพันธ์ Relationship Management

งานครั้งที่ 4 การขัดแย้งในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน

  1. เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง  
              ความจริงที่เราควรรู้เกี่ยวกับ “ความขัดแย้ง” ก็คือ
  1. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 
  2. การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งเป็นเรื่องยาก 
  3. วิธีที่เราใช้จัดการกับความขัดแย้งเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของเราในสถานการณ์ยากลำบาก-.จงเผชิญหน้ากับบุคคลนั้น ก็ต่อเมื่อคุณห่วงใยบุคคลนั้นจริง ๆ เท่านั้น
    -การเผชิญหน้ากันเพื่อเอาชนะกันหรือเรียกร้องให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายผิด คงไม่ใช่บรรยากาศที่เหมาะกับการปรับความเข้าใจหรือแก้ไขความขัดแย้ง
    -เราต้องส่งเสริมบรรยากาศที่แต่ละฝ่ายคิดเหมือนกันนั่นคือ ให้ชนะกันทั้ง 2 ฝ่าย (หรืออย่างน้อยก็ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งชนะไปก่อน)

     2. ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย   

               เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย     
    3. ระบุปัญหา  

            การระบุปัญหาเป็นการทำความเข้าใจสถานการณ์ของปัญหาหรือความต้องการนั้น ๆ อย่างละอียด โดยวิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจเลือกปัญหาหรือความต้องการที่จะดำเนินการแก้ไข แล้วกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การหาแนวทางในการแห้ปัญหาต่อไป การระบุปัญหาและกำนหนดขอบเขตของปัญหาให้มีความชัดเจน เราสามารถนำเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ มาช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบปละสาเหตุของปัญหา เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาด้วย 5W1H การหาสาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลา (fishbone diagram)

     4. แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก  
              โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ

     5. สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้  

             ให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลง แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย

งานครั้งที่ 5 ในสถานที่ฝึกงานของ นศ ใช้ระบบควบคุณภาพอย่างไร

มาตรฐาน ISO 9001 ISO 9001 เป็นมาตรฐานสากลที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกให้ความสำคัญ เพื่อความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการด...