- เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
- ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- การเผชิญหน้ากับความขัดแย้งเป็นเรื่องยาก
- วิธีที่เราใช้จัดการกับความขัดแย้งเป็นตัวกำหนดความสำเร็จของเราในสถานการณ์ยากลำบาก-.จงเผชิญหน้ากับบุคคลนั้น ก็ต่อเมื่อคุณห่วงใยบุคคลนั้นจริง ๆ เท่านั้น
-การเผชิญหน้ากันเพื่อเอาชนะกันหรือเรียกร้องให้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายผิด คงไม่ใช่บรรยากาศที่เหมาะกับการปรับความเข้าใจหรือแก้ไขความขัดแย้ง
-เราต้องส่งเสริมบรรยากาศที่แต่ละฝ่ายคิดเหมือนกันนั่นคือ ให้ชนะกันทั้ง 2 ฝ่าย (หรืออย่างน้อยก็ขอให้อีกฝ่ายหนึ่งชนะไปก่อน)
2. ทำความเข้าใจสถานภาพของแต่ละฝ่าย
เช่น การหาสาเหตุที่แท้จริงของความขัดแย้ง การศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละฝ่าย โดยผู้บริหารต้องพยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือในการ แก้ไขปัญหา ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เลย
3. ระบุปัญหา
การระบุปัญหาเป็นการทำความเข้าใจสถานการณ์ของปัญหาหรือความต้องการนั้น ๆ อย่างละอียด โดยวิเคราะห์เงื่อนไขหรือข้อจำกัดของสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจเลือกปัญหาหรือความต้องการที่จะดำเนินการแก้ไข แล้วกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การหาแนวทางในการแห้ปัญหาต่อไป การระบุปัญหาและกำนหนดขอบเขตของปัญหาให้มีความชัดเจน เราสามารถนำเทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ มาช่วยในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบปละสาเหตุของปัญหา เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัญหาด้วย 5W1H การหาสาเหตุของปัญหาด้วยผังก้างปลา (fishbone diagram)
4. แสวงหาทางเลือกและประเมินทางเลือก
โดยให้ทั้งสองฝ่ายหาแนวทางที่หลากหลายเพื่อการแก้ปัญหา โดยทางเลือกดังกล่าวจะต้องได้รับการยินยอมและเป็นที่พอใจกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับชัยชนะ
5. สรุปแนวทางและนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้
ให้แต่ละฝ่ายรับรู้ในข้อตกลง แล้วนำข้อตกลงไปปฏิบัติ ซึ่งอาจมีการเจรจากันใหม่และร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อปรับปรุงทางเลือกและข้อตกลงให้เป็นที่พึงพอใจกับทุกฝ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น